สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว
เมื่อพูดถึงสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว
หลายๆท่านอาจจะคิดว่ามันไม่น่าไปด้วยกันได้เลย แต่จริงๆแล้วทุกๆวันนี้หากเราจะมองย้อนกลับไปเราจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมล้วนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการท่องเที่ยวเกือบทั้งสิ้น ก่อนที่เราจะมาเรียนรู้กันว่าสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยวมันเกี่ยวข้องกันยังไงก็จะขออธิบายความหมายสั้นๆของคำว่า “สถาปัตยกรรม” ให้ทราบกันก่อนว่าหมายถึงอะไร
สถาปัตยกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาวซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2ชนิดคือ
- ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ
- ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม
หลังจากที่เราทราบถึงความหมายของคำว่าสถาปัตยกรรมกันแล้วคราวนี้ก็คงพอจะนึกภาพกันออกแล้วใช่ไหมค่ะว่าทั้งสองแขนงนี้มันมาเกี่ยวข้องกันได้ยังไง แน่นอนว่าไม่ว่าวันเวลาจะพาไปสักกี่ร้อยกี่พันปีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ๆที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกที่เราเห็นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น
มหาพีระมิดแห่งกีซา(The Great Pyramid of Giza)


พีระมิดคูฟู หรือ พีระมิดคีออปส์แต่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าพีระมิดแห่งกีซา พีระมิดอียิปต์เป็นสิ่งมหัสจรรย์ยุคโบราณเพียงสิ่งเดียวที่ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์เหมือนในอดีต มหาพีระมิดแห่งกีซาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ณ เมืองกีเซ (Giza) ตอนเหนือของกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์ เป็นพีระมิดที่มีความใหญ่โตและเก่าแก่ที่สุด ในหมู่พีระมิดทั้งสามแห่งกีซามหาพีระมิดนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเป็นหนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นและยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยรูปทรงของพีระมิดได้สร้างอย่างมีลักษณะเฉพาะตัว ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบด้วยด้านสามเหลี่ยม 4 ด้าน ยอดสามเหลี่ยมแต่ละด้าน เอียงเข้าบรรจบกัน เป็นยอดแหลม ฐานทั้ง 4 ด้านของพีระมิด กว้างด้านละประมาณ 230 เมตร (756 ฟุต กว้างกว่า สนามฟุตบอล ต่อกัน 2 สนาม) คิดเป็นพื้นที่ฐานประมาณ 53,000 ตารางเมตรหรือประมาณ 33 ไร่ ฐานล่างสุดของพีระมิด ก่อขึ้นบนชั้นหินแข็ง ซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นทราย เพื่อป้องกันปัญหา การทรุดตัวของชั้นทราย ซึ่งจะมีผล กับความคงทนแข็งแรง ของโครงสร้างพีระมิด ผิวหน้าแต่ละด้านของ พีระมิดคูฟู ทำมุมเอียงประมาณ 52 องศา ซึ่งมีส่วนทำให้พีระมิด คงทนต่อการสึกกร่อน อันเนื่องมาจากพายุทราย
สันนิษฐานว่าผู้สร้างพีระมิดนี้ อาศัยดวงดาวเป็นหลัก นอกจากความใหญ่โตอันน่ามหัศจรรย์ของพีระมิดแล้ว การก่อสร้างให้ สำเร็จยัง น่ามหัศจรรย์ยิ่งกว่าหลายเท่าถ้าทราบว่าหินเหล่านี้ต้องสกัดมาจากภูเขาที่อยูไกล แล้วลากมาสู่ฝั่งแม่น้ำไนล์ล่องลงมาเป็น ระยะทางนับร้อยไมล์ จึงมาถึงจุดใกล้ที่ก่อสร้าง แล้วชักลากผ่านทะเลทรายไปถึงที่ก่อส้างต้องแต่งสลักเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วยก วางซ้อนขึ้นไปจนถึง 432 ฟุต ใจกลางพีระมิดมีห้องเก็บพระศพของพระเจ้าคีออพส์ข้างในทำจากหินแกรนิต กว้าง 34 ฟุต ยาว 17 ฟุต และสูง 19 ฟุต หีบพระศพของพระเจ้าคีออพส์ทำด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องปิรามิดของพระเจ้าคีออพส์ ล้อมรอบด้วยหลุมศพ และพีระมิดเล็ก ๆ อีก 3 แห่ง
กำแพงเมืองจีน(Great Wall of China)

กำแพงเมืองจีนสร้างในสมัยราชวงค์ฉินเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยฮ่องเต้องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวก ซยงหนู เข้ามารุกราน และพวกเติร์กจากทางเหนือ

ส่วนความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า “กำแพงยาวหมื่นลี้” (หนึ่งลี้มีความยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร โดยทุกๆ 300 ถึง 500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้สับเปลี่ยนเวรยามและใช้เป็นจุดสังเกตการณ์ มีหอสังเกตการณ์กว่า 1 หมื่นแห่ง ส่วนประกอบก่อนที่จะมีการใช้อิฐในการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้น โดยใช้หิน ดิน และไม้ บางครั้งมีการแพ็คดินไว้ระหว่างไม้แผ่นใหญ่ และมัดไว้ด้วยกันโดยเสื่อทอ บริเวณใกล้กรุงปักกิ่ง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างโดยใช้หินอ่อน ในบางสถานที่กำแพงถูกสร้างโดยใช้หินแกรนิต บางแห่งก็ใช้ดินเผา ทางตะวันตกของจีน กำแพงถูกสร้างโดยใช้โคลน ทำให้ชำรุดได้ง่ายกว่า กำแพงเมืองจีนที่เราเห็นกันทุกวันนี้ส่วนใหญ่ถูกสร้างในราชวงศ์หมิงซึ่งใช้หินเป็นวัตถุที่ก่อสร้าง
และเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 นักโบราณคดี สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ “กำแพงเมืองจีน” อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศและนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่เป็นสถาปัตยกรรมในยุคกลาง และยุคใหม่
สนามกีฬากรุงโรม ( Colosseum of Rome)

ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมในโลกยุคปัจจุบัน เป็นสนามกีฬากลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ตัวสนามเป็นรูปตึกวงกลมเพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใจนักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก และก่อด้วยหินทรายและอิฐประกอบกัน ภายในมีอัฒจรรย์สำหรับให้คนนั่งดูกีฬาซึ่งจุคนได้มากถึง 50,000คนหรืออาจจะมากกว่านั้น ใต้อัฒจรรย์และใต้ดินมีห้องไว้ขังสิงโตและนักโทษที่รอการประหารชีวิตนับร้อยห้อง มีขนาดใหญ่วัดโดยรอบได้ 527 เมตร สูง 57 เมตร สร้างขึ้นราว พ.ศ. 72-80 สนามกีฬาโคลอสเซียมแห่งนี้ สนามกีฬาแห่งนี้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์เวชเปเซียน ยุคโรมเรืองอำนาจ ราว ค.ศ. 72 เพื่อใช้เป็นที่ให้นักโทษกับสิงโตสู้กัน หากนักโทษคนใดชนะฆ่าสิงโตที่ดุร้ายด้วยเมือเปล่าก็รอดชีวิต บางครั้งใช้ในการประลองอาวุธ ประลองความเก่งกล้าสามารถของนักรบ หรือขุนศึกแห่งโรมทั้งหลาย สนามกีฬากรุงโรม จึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรโรมันโบราณ แต่เมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมลง โคลอสเซียม ก็ถูกข้าศึกทำลายหลายครั้งหลายหน ซึ่งในปัจจุบันเหลือแต่ซากโครงสร้างอันใหญ่โตมโหฬารไว้ให้ชม สนามกีฬาแห่งนี้ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบันอีกด้วย
ทุกสิ่งในโลกนี้ย่อมมี “ผู้สร้าง”
สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงแค่เศษเสี่ยวหนึ่งของสถาปัตยกรรมทั่วโลกที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่คอยให้เราได้เดินทางไปค้นหาถึงความน่าอัศจรรย์ต่างๆในการก่อสร้าง วัสดุต่างๆที่ใช้ วิธีการออกแบบ วิธีการวางแผนผังอย่างมีระเบียบแบบแผน สิ่งต่างๆที่ออกมาสวยงาม และแทรกไปด้วยการบอกเล่าถึงวัฒนธรรมและอารยธรรมในแต่ละยุคแต่ละสมัยบอกเล่ามายังคนรุ่นหลังให้ได้เรียนรู้ ได้ศึกษาโดยผ่านสิ่งก่อสร้างต่างๆเหล่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีสิ่งที่ถูกสร้าง ก็ย่อมมีผู้สร้างด้วยเช่นกัน และแม้ว่าชีวิตประจำวันของเราทุกวันนี้ เราอาจจะไม่ได้เดินทางไปเที่ยวไกลๆตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น หรืออีกมากมายหลายร้อยแห่งที่ยังไม่ได้กล่าวถึง แต่หากเราจะคิดให้ดีๆเราก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสทได้ว่าปัจจุบันนี้สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยวได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินออกจากบ้าน เราก็เห็นสถาปัตยกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็นตึกสูงระฟ้า ห้างสรรพสินค้าต่างๆ และอื่นๆอีกมากมายที่อยู่ล้อมรอบเรา หรือแม้กระทั้ง “บ้าน” ของเราเองก็ตาม