Holi Festival

Holi Festival เทศกาลแห่งสีสัน

Holi Festival เทศกาลแห่งสีสัน เทศกาลแห่งสีสัน คือ เทศกาลเล่นสีของชาวอินเดีย มีชื่อว่า Holi Festival เทศกาลแห่งสีสัน เทศกาลสาดสี หรือ เทศกาลป้ายสี นั่นเอง เทศกาลจะเริ่มในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงจากหนาว เป็นอากาศร้อน การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อมนุษย์ต่อสุขภาพและต่อจิตใจของมนุษย์ และเมื่ออากาศเริ่มเปลี่ยนจากหนาวมาเป็นร้อน คนก็จะไม่สบายเป็นหวัดกันเพราะอากาศเป็นเหตุ ก็ทราบว่าเบื้องหลังเทศกาลนี้มิใช่เพื่อโปรยสีกันเพื่อสนุกสนานอย่างเดียว เท่านั้น แต่คนโบราณได้แฝงเอาธรรมชาติบำบัดเอาไว้ด้วย โดยใช้ผงสีจากพืชและพืชสมุนไพรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น สีแดง สีเหลือง สีคราม สีเขียว ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ เทศกาลแห่งสีสันไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ…

 

โฮลี่เป็นเทศกาลของชาวฮินดู คำว่า โฮลี่ หมายถึง การสิ้นสุดของปีเก่า เป็นเทศกาลฉลองรื่นเริงที่มีพื้นเพมาจากความเชื่อในศาสนาฮินดูในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากผู้คนจะออกมาเฉลิมฉลองด้วยการสาดสีหรือป้ายสี ซึ่งเป็นฝุ่นผงใส่กัน ด้วยสีสันต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน ซึ่งการสาดสีใส่กันนี้สันนิษฐานว่า เป็นพื้นเพที่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมา และปรับเปลี่ยนเป็นการสาดน้ำใส่กันแทน คือ สงกรานต์ โดยกำหนดเอาคืนพระจันทร์เต็มดวงในเดือนที่ 12 ตามปฏิทินฮินดูซึ่งจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมของทุกปีเป็นวันที่เฉลิมฉลองกัน เป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นใหม่และนำความอบอุ่นกลับมาให้ ชาวฮินดูหลายคนจึงถือว่าโฮลี่เป็นช่วงแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เป็นวันที่พวกเขาสลัดความทุกข์ ลืมเรื่องเข้าใจผิด ให้อภัยและปรับความเข้าใจกัน รวมถึงแสดงความรักความเมตตาต่อกันและกัน

การสาดสีใส่กันนั้น เชื่อว่า เป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย มีปกรณัมมากมายเกี่ยวกับที่มาของเทศกาลนี้ แต่ที่เชื่อกันมากที่สุด ก็คือตำนานทางศาสนHoli Festival5าและเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าฮินดูทั้งสิ้น มีเรื่องอยู่ว่า เจ้าแห่งอสูรนามว่าหิรัญยกศิปุได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะ ซึ่งต่อมาด้วยความที่ไม่มีใครฆ่าได้ ทำให้เจ้าอสูรต้องการให้ทุกคนบูชาตนเองเท่านั้นแต่ลูกชายที่ชื่อ ปราลัด กลับบูชาแต่ พระวิษณุ ซึ่งก็ทำให้เจ้าอสูรโกรธมาก พยายามหาวิธีทำให้ลูกตัวเองตาย หนึ่งในวิธีคือการหลอกให้ถูกเผาทั้งเป็น โดยให้ปราลัดเข้าพิธีบูชาไฟพร้อมน้องสาวของตนที่ชื่อ “โฮลิกะ” น้องสาวคนนี้ได้รับพรพิเศษว่าไฟไม่สามารถทำร้ายเธอได้ แต่ปรากฏว่าเมื่ออยู่ในกองไฟ เธอกลับถูกเผาไหม้โดย ปราลัดกลับไม่เป็นอะไรเลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะพรที่เธอได้นั้นมีเงื่อนไขว่าเธอเข้ากองไฟคนเดียวสำหรับปราลัดนั้นด้วยการยึดมั่นบูชาถึงพระวิษณุเสมอจึงไม่เป็นอะไรจากกองไฟ การบูชา โฮลี่ มาจากคำว่า โฮลิกะ สื่อความว่าไฟเผา จึงเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อจะบอกว่าผู้ใดที่ยึดมั่นบูชาพระเจ้าจะไม่เป็นอันตรายและธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ

นอกจากนี้โฮลี่ยังเป็นการฉลองผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยว เป็นการขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลพืชพรรณธัญญาหารตลอดฤดูกาลที่ผ่านมาและเพื่อบนบานขอให้ปีต่อไปได้ผลผลิตที่สมบูรณ์เหมือนเดิมด้วย                                                                                                                                                                     ส่วนการสาดสีนั้นมีที่มาจากตำนานของ พระกฤษณะ ที่หลงรักในตัวพระนางที่ชื่อราธา ความรักระหว่างทั้งสองนั้นลึกซื้งและโรแมนติกมาก กล่าวกันว่าพระกฤษณะชอบที่จะเล่นโปรยสีบนตัว จึงกลายมาเป็นประเพณีกันต่อมา นอกจากนั้นก็มีเรื่องของ พระศิวะ กับ พระเมอุมาเทวีที่รวมความแล้วตำนานต่างๆ สื่อถึงคุณธรรมคือการบูชาที่ดีย่อมนำมาซึ่งความอยู่รอดปลอดภัยของผู้บูชา ซึ่งส่วนที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ก็เป็นตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาแต่โบราณของอินเดีย                                                            

ส่วนใหญ่แล้วการเฉลิมฉลองจะมีแค่หนึ่งวันและหนึ่งคืน วันที่เล่นสาดสีกันเรียกว่าวัน ดูเลนดี ซึ่งรัฐบาลอินเดียกำหนดให้เป็นวันหยุดประจำชาติ ส่วนคืนก่อนหน้าวันดูเลนดีเรียกว่า โฮลี่กะฮาดัน เป็นคืนที่มีพิธีสำคัญคือการสุมกองไฟเผาหุ่นนางโฮลิกะ

การสาดสีจะเล่นกันเฉพาะช่วงเช้าจนถึงเที่ยงวันเท่านั้น ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลักของการฉลองโฮลี่ ผงสีที่นำมาสาดมาป้ายกันเรียกว่า “กูเลา” ทำมาจากธรรมชาติ เช่น ดอกทองกวาว บีทรูท ขมิ้น ซึ่งเป็นเหมือนพรที่ผู้คนมอบให้กัน แต่ละสีมีความหมายแตกต่างกันไป สีแดงแทนพลังและอำนาจ สีน้ำเงินแทนความสุขสงบ สีเขียวแทนความอุดมสมบูรณ์ สีเหลืองแทนความเบิกบานและอบอุ่น สีส้มแทนความสร้างสรรค์ และสีม่วงแทนความยิ่งใหญ่

เราจะเห็นการสาดสีอยู่ในทุกภาคส่วนของการเฉลิมฉลอง ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่มักจะเกิดขึ้นในวัด หรือเป็นการละเล่นตามท้องถนนเพียงเพื่อความสนุกสนาน อันเป็นนัยที่บ่งบอกถึงการสิ้นสุดของฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นผู้คนก็จะแยกย้ายไปพักผ่อน เมื่อตกเย็นจะออกมาพบปะสังสรรค์กัน รวมทั้งมีขนมหวานที่ ทำเพื่อแจกและรับประทานโดยเฉพาะในเทศกาลนี้ ที่ทำมาจากนมและนมเปรี้ยวเป็นหลัก เชื่อกันว่าหากได้รับประทานขนมด้วยจิตใจเบิกบานจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีของการเริ่มต้นปีใหม่ เทศกาลโฮลี่จึงถือเป็นเทศกาลแห่งมิตรภาพ มิตรสหายได้แสดงไมตรีเข้าสวมกอดกัน ผู้ที่เคยขัดแย้งกันก็จะได้ปรับความเข้าใจกัน การฉลองโฮลี่เลยสนุกสนานเป็นพิเศษตามไปด้วย    

เมืองที่นิยมจัดงาน Holi Festival ของอินเดีย

แคว้นที่ได้รับความนิยมในการเฉลิมฉลองเทศกาลโฮลี่มากที่สุดก็คือ แคว้นมธุระ ซึ่งเป็นเหมือนศูนย์กลางการฉลองโฮลี่ของอินเดียและดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งท้องถิ่นและต่างชาติมาร่วมเป็นพยานแห่งความสนุกสนานมากกว่าปีละล้านคน ในขณะที่เมืองอื่นๆในอินเดียฉลองกันมากสุดแค่สองวัน แต่เมืองต่างๆในแคว้นมธุระรวมๆกันฉลองนานเกือบสองสัปดาห์ หนึ่งสัปดาห์ก่อนและหลังวันดูเลนดี เมืองเหล่านี้จะจัดพิธีศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาในวัดประจำเมืองกันคนละวัน ส่วนการสาดสีนี่เล่นกันแทบจะทุกวันเลยทีเดียวค่ะ                                                                                                                                                                                                                                                     นอกจากนี้โฮลีมักจัดในประเทศอินเดียและเนปาลเป็นหลัก แต่ยังมีการเฉลิมฉลองโดยชาวฮินดูกลุ่มน้อยในบังกลาเทศและปากีสถานด้วย เช่นเดียวกับประเทศที่มีประชากรเชื้อสายอินเดียพลัดถิ่นขนาดใหญ่ที่นับถือศาสนาฮินดู เช่น ซูรินาม มาเลเซีย กายอานา แอฟริกาใต้ ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา มอริเชียส ฟิจิ และไทยอีกด้วย… 🙂  😛  😎  😉  😀  😈  :mrgreen:  😳 

สนใจท่องเที่ยวอินเดีย ลองเข้าไปดูรายละเอียด โปรแกรมทัวร์อินเดีย ได้เลยนะ

คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น.